รู้จักภัยออนไลน์ให้มากขึ้น
ภัยออนไลน์มีหลายรูปแบบและมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาแบบไม่มีพักร้อน แค่ทำความรู้จักมันไว้ ก็เท่ากับว่าเราเตรียมตัวรับมือกับมันแล้วนะ เพราะเมื่อเราเห็นมันในพื้นที่ออนไลน์ เราก็จะรู้เท่าทัน สามารถรับมือและช่วยเหลือตัวเองและคนอื่นได้แบบสับๆ
-
ทำอะไร: พยายามทำร้ายคนอื่นทางออนไลน์ด้วยการดูถูก ทำให้อับอาย หรือข่มขู่
ทำยังไง: บางครั้งคนทำก็ไม่เปิดเผยตัวจริงแต่สร้างแอคหลุมขึ้นมาโจมตีคนอื่น -
ทำอะไร: คุกคามคนอื่นเพราะเพศสภาพหรือเพศวิถีของคนที่ตกเป็นเป้าหมาย
ทำยังไง: พูดจาหรือใช้การกระทำอื่นๆ ที่ล่วงเกินทางเพศ เช่น แสดงความคิดเห็นที่ดูหมิ่นผู้หญิง เกย์ หรือคนข้ามเพศ รวมถึงการเปิดเผยเพศวิถีของคนอื่นทั้งที่เจ้าตัวต้องการเก็บไว้เป็นเรื่องส่วนตัว นอกจากนี้ยังรวมถึงการแชร์รูปภาพส่วนตัวหรือรูปภาพที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย -
ทำอะไร: นั่งหน้าจอคอยติดตามเฝ้าดูคนที่ตกเป็นเป้าหมายทางออนไลน์
ทำยังไง: พวก ‘ไซเบอร์สตอล์กเกอร์’ จะค้นหาข้อมูลจากโซเชียลมีเดียและบัญชีออนไลน์อื่นๆ ของคนที่ตัวเองเฝ้าติดตาม บางข้อมูลอาจจะไม่ได้อยากเปิดเผยต่อสาธารณะแต่พวกเขาก็จะพยายามหามันมาจนได้ บางครั้งคนพวกนี้ก็จะส่งข้อความไปหาคนที่ตัวเองติดตามด้วย
-
ทำอะไร: คนที่ ‘ด็อกซิง’ คนอื่นคือคนที่จงใจเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นในโลกออนไลน์
ทำยังไง: เปิดเผยและแชร์ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับคนอื่นทางออนไลน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่ในโลกออฟไลน์ อีเมล รูปภาพส่วน รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่เจ้าตัวไม่ต้องการให้ใครรับรู้ อาจจะเป็นการเปิดเผยในโพสต์สาธารณะ หรือในแชทกลุ่ม ไม่ใช่แค่คนแปลกหน้าเท่านั้นที่สามารถทำร้ายเราได้ มีคนจำนวนไม่น้อยถูกทำร้ายด้วยการด็อกซิงโดยญาติๆ ในไลน์กลุ่มครอบครัว -
ทำอะไร: ทำร้ายคนอื่นด้วยภาพและวิดีโอ
ทำยังไง: แชร์รูปภาพหรือวิดีโอของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยส่วนมากแล้วมักจะเป็นรูปภาพส่วนตัว ภาพเซ็กซี่ใดใดที่เจ้าตัวอาจจะถ่ายเก็บไว้หรือส่งแค่ให้คนที่ไว้ใจ หลายคนอาจเคยได้ยินกรณีการใช้สื่อลามเพื่อแก้แค้นคนรักเก่าของตัวเอง หรือ “Revenge porn” นี่เป็นการละเมิดด้วยภาพประเภทหนึ่งนะ รูปภาพและคลิปอาจถูกขโมยหรือถูกถ่ายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของ อาจจะเป็นภาพเก่าคลิปเก่าที่เคยถ่ายไว้ขณะมีความสัมพันธ์กันในอดีต นอกจากนี้ยังรวมถึงรูปภาพหรือวิดีโอที่ถูกตัดต่อหรือปลอมแปลงด้วย AI ใดใดด้วย -
ทำอะไร: หลอกลวงคนอื่นทางออนไลน์
ทำยังไง: เยอะแยะหลากหลายจนหัวจะปวดไปหมด นักต้มตุ๋นออนไลน์อาจติดต่อเป้าหมายทางโทรศัพท์ ทางแอปส่งข้อความ ทางอีเมล หรือทางโซเชียลมีเดีย ทุกวันนี้มีวิธีการหลอกลวงแบบแนบเนียนมากขึ้น ครีเอทีฟวิตี้มารัวๆ มีหลายรูปแบบและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา!
ทำเพื่อ: แรงจูงใจหลักๆ ของสแกมคือการหลอกเอาเงินจากเรา
เราอยู่ตรงนี้ เพื่อช่วยเหลือกัน
อย่าตกเป็นเหยื่อ! รับมือกับการขู่แชร์ภาพส่วนตัวของคุณด้วยวิธีที่ถูกต้อง
ถ้าถูกขู่ว่าจะเอารูปส่วนตัวของเราที่ไม่เหมาะสมทางเพศไปแชร์ แจ้งมาได้เลยที่เว็บไซด์ด้านล่างนี้ StopNCII.org จะสร้าง "รหัสดิจิทัล" ให้กับภาพหรือวิดีโอ แล้วส่งรหัสนี้ไปให้เว็บไซด์ต่างๆ เพื่อตรวจจับและลบภาพหรือวิดีโอเหล่านั้นออกจากออนไลน์ หรือติดต่อมาที่ Line ID: @StopOnlineHarm (มีแอดนำหน้า)
วิธีรับมือเมื่อถูกคุกคามออนไลน์
#Rise Up
เราจะเปลี่ยนแปลงสังคมไม่ได้ถ้าข้างในเราย่อยยับ
แม้แต่แรงจะยืนยังไม่มีเลย เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราจะ Rise Up ได้ ก็คือต้องกลับมาดูแลใจตัวเองก่อน
#Rise Up
ในช่วงปี 2020 เป็นต้นมา เทรนด์หนึ่งที่น่าสนใจมากๆ ของการเคลื่อนไหวในไทยก็คือว่า เราเห็นผู้หญิงแล้วก็ LGBTI+ อยู่ในแนวหน้าของการชุมนุมเยอะมาก อีกอย่างหนึ่งก็คือเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสื่อโซเชียล หรือว่าแอปพลิเคชันในการแชท เรียกว่าเป็นเครื่องมือหลักเลยก็ว่าได้ที่ใช้ในการชุมนุม แต่ว่าถึงเทคโนโลยีพวกนี้มันจะมีข้อดี แต่ก็กลายเป็นว่ามันก็ expose เขา ทำให้เขาต้องเผชิญกับความรุนแรง
คุกคามทางเพศออนไลน์ มีความผิด! เข้าใจกฏหมาย
-
ห้ามไม่ให้นำเข้าข้อมูลอันลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้—ผู้ฝ่าฝืนอาจถูกจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท.
-
การข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ผู้อื่นรู้สึกอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ อาจต้องเผชิญโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
-
กรณีการทำอนาจาร ซึ่งการแอบถ่ายภาพหรือคลิป อาจเข้าข่ายเป็นความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
การใส่ความผู้อื่นต่อบุคลที่สาม โดยน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อาจมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-
การใส่ความผู้อื่นต่อบุคลที่สาม โดยน่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ซึ่งกระทำการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพหรือบันทึกอักษร โดยกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น อาจมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท
อย่าหลงเชื่อเพจปลอมที่ให้ความช่วยเหลือออนไลน์เด็ดขาด!
ตร.ไซเบอร์ ย้ำ! สำหรับใครที่อยากแจ้งความออนไลนหน่วยงานราชการไม่รับแจ้งความผ่านเฟซบุ๊ก หากผู้เสียหายคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีต้องการแจ้งความ สามารถแจ้งความออนไลน์ได้ที่ https://thaipoliceonline.com เท่านั้น หรือโทรสายด่วน 1441 และหากต้องการให้ Stop Online Harm ช่วยเหลือเอาข้อมูลที่ถูกละเมิดออกจากอินเตอร์เนต ติดต่อเราได้ที่ LINE: @stoponlineharm (มีแอดนำหน้า)
รู้ไว้ปลอดภัยก่อน
วิธีล็อกโปรไฟล์ ป้องกันมิจฉาชีพขโมยข้อมูล
แนะนำอย่างยิ่งให้ล๊อกโปรไฟล์ ให้เวลาแค่ 2 นาทีแต่ปลอดภัยจากมิจฉาชีพปลอมแปลงข้อมูล Find out more.
Online harassment คืออะไร?
การคุกคามออนไลน์ (Online Harassment) คือพฤติกรรมของคนที่พยายามทำร้ายคนอื่นทางออนไลน์ด้วยการพูดดูถูก ทำให้อับอาย หรือข่มขู่ โจมตีและทำให้คนที่ตกเป็นเป้าหมายรู้สึกแย่ ไปจนถึงการขับให้คนอื่นออกไปจากพื้นที่ออนไลน์. Find out more.
จะแชร์อะไรออนไลน์ ให้คิดเยอะๆ
สิิ่งที่เราแชร์ออนไลน์ ไม่หายไปไหน ดังนั้นคิดให้เยอะก่อนจะแชร์อะไร Find out more.
‘ด็อกซิง’ คนจริงเขาไม่แชร์ข้อมูลคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
ด็อกซิง (Doxxing) คือการจงใจเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นทางออนไลน์ รวมถึงในกลุ่มแชทต่างๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่อนุญาต Find out more.
ภาพที่เธอเคยส่งให้ ฉันจะใช้มันทำร้ายเธอ!
การละเมิดด้วยภาพ (Image abuse) คือพฤติกรรมของคนที่แชร์รูปภาพหรือวิดีโอของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งที่แชร์ในโซเชียลมีเดีย กลุ่มลับ เว็บโป๊ และช่องทางออนไลน์อื่นๆ Find out more.
เราถูกเฝ้าติดตามทางไซเบอร์อยู่รึเปล่า?
กินอะไร ไปที่ไหน บ้านอยู่ไหน ระวังนะ อาจมีคนติดตาม. Find out more.